1. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้าน
ตำบลดูน ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 - 2473 ดูหลักฐานการย้ายอำเภอกันทรารมย์ จากอำเภอท่าช้าง มาอยู่อำเภอกันทรารมย์ มีหมู่บ้านหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำมูล ห่างประมาณกิโลเมตรเศษ เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสมและตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นเนินสูง ซึ่งเป็นที่สันดอนทรายที่พัดมาจากแม่น้ำมูลทำให้เป็นสันดอน รอบบ้านด้านทิศตะวันใต้และทิศตะวันออก เป็นน้ำซับน้ำดูน (มีน้ำไหลตลอดฤดูกาล) เหมาะแก่การประกอบอาชีพ และอยู่ใกล้แม่น้ำมูลประมาณกิโลเศษ สะดวกในการเดินทางไปมาทางน้ำ และประกอบอาชีพประมง จึงได้ตั้งเป็นตำบลดูน ตามบ้านดูน และมีกำนันผู้ก่อตั้งตำบลดูนคนแรก คือ นายจันดี พิลาสุข เป็นคนบ้านผักกูด (หมู่ 1 บ้านดูน)
ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ยกฐานะเป็นสภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 และยกฐานะจากสภาตำบลซึ่งมีฐานะการคลังระดับหนึ่ง เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนตำบล” เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
ทำเนียบกำนันตำบลดูน
1. นายจันดี พิลาสุข
2. นายบุญทัน ส่งเสริม
3. นายเปล่ง โขสูงเนิน
4. นายลือ บัวหอม
5. นายเหลา ภาดี ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2496 - 2515
6. นายไชยยงค์ ยิ่งยงชัย ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2516 - 2537
7. นายประวิทย์ ลอยจันทร์แจ่ม ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2538 - 2542
8. นายทองคำ พุฒพันธ์ ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2543 – ๒๕๕๒
๙. นายสำรวย กลิ่นสี ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 25๕๒ – ๒๕๕๕
๑๐. นายสมชาย กิ่มเกลี้ยง ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 25๕๕ – ปัจจุบัน
โดยสรุปแล้วที่ตั้งตำบลดูนเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอกันทรารมย์และสำนักงานเทศบาลตำบลกันทรารมย์ ซึ่งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดูน ตั้งอยู่ที่บ้านอีปุ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันทรารมย์ไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร
ทิศเหนือ
ติดต่อกับตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางแม่น้ำมูลบริเวณพิกัดVB 528738 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำมูล สิ้นสุดกึ่งกลางแม่น้ำมูล บริเวณพิกัดVB 576741 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางแม่น้ำมูลบริเวณพิกัดVB 576741 ไปทางทิศใต้ตามแนวป่าไม้ริมฝั่งแม่น้ำและทุ่งนาไปบรรจบกับถนนลูกรังสายบ้านอีปุ้ง ตำบลดูน–บ้านโนนสัง ตำบลโนนสัง บริเวณพิกัดVB 578718 ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ไปทางทิศใต้ตามแนวทุ่งนาระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร บรรจบกับเส้นทางรถไฟ บริเวณพิกัดVB 579699 ไปทางทิศใต้ตามแนวทุ่งนา ระยะทางประมาณ 800 เมตร สิ้นสุดที่กึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 บริเวณพิกัดVB 579692 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 5.3 กิโลเมตร
ทิศใต้
ติดต่อกับตำบลหนองหัวช้าง และตำบลคำเนียม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 บริเวณพิกัดVB579692 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2085 ระหว่างอำเภอกันทรารมย์-กันทรลักษ์ แล้วต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวทุ่งนา ระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร ถึงกึ่งกลางลำห้วยหมากบ้า บริเวณพิกัด VB 560670 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวทุ่งนา ระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร ไปบรรจบกับถนน อก.ศก หมายเลข 2360 ระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 บ้านอีต้อม บริเวณพิกัดVB 547673 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวทุ่งนาระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ไปบรรจบกับถนนลูกรังสายระหว่างทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 -บ้านคำเนียม บริเวณพิกัดVB 530686 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร สิ้นสุดที่กึ่งกลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 226 บริเวณพิกัดVB 521692 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 6.6 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 บริเวณพิกัดVB 521692 ไปทางทิศเหนือตามแนวทุ่งนาระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ไปบรรจบกับถนนลูกรังสายบ้านสิมตำบลดูน–บ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว บริเวณพิกัดVB 522716 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวป่าไม้ริมฝั่งแม่น้ำ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร สิ้นสุดที่กึ่งกลางแม่น้ำมูลบริเวณพิกัดVB 528738 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร
1.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและเป็นลูกคลื่นลอนตื้นลาดต่ำ ไปทางทิศเหนือซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 100-150 เมตร เนื้อที่ตำบลดูนทั้งหมดประมาณ ๓๙.๐๐ ตารางกิโลเมตร (๒๐,๐๖๒.๕๐ไร่) เป็นเนื้อที่ของเทศบาลตำบลกันทรารมย์ ประมาณ 6.9 ตารางกิโลเมตร (4,312.5 ไร่) เป็นเนื้อที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดูน ๓๒.๑๐ ตารางกิโลเมตร (๒๐,๐๖๒.๕๐ไร่)
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่มีอากาศหนาวเล็กน้อยในฤดูหนาวและมีฝนตกซุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 25.30 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด คือเดือนธันวาคม ประมาณ 15 - 18 องศาเซลเซียส และเดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือเดือนเมษายนประมาณ 39 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
ส่วนใหญ่ดินในพื้นที่ตำบลดูนเกือบทุกหมู่บ้านเป็นดินรวนปนทราย ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตร
๒.ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลดูน ตามลักษณะปกครองท้องถิ่นทั้งหมด จำนวน 14 หมู่ จำแนกได้ดังนี้
๒.๑.๑ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูน เต็มทั้งหมู่บ้านจำนวน 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1,3,4,7,8
๒.๑.2 เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูนส่วนมาก จำนวน 1 หมู่ คือ หมู่ที่ 10
(บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกันทรารมย์)
2.๑.3 เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูนบางส่วน จำนวน 2 หมู่ คือ หมู่ที่ 11,14 (ส่วนมากอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกันทรารมย์)
2.๑.4 เป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูน เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่ คือ หมู่ที่ 2,5,6,9 (อยู่ในเขตเทศบาลตำบลกันทรารมย์เต็มทั้งหมู่บ้าน)
1.๑.๕ จำนวนเทศบาล จำนวน 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลกันทรารมย์
๑.๑.๖ จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีทั้งหมดจำนวน ๘ หมู่ ดังนี้
1 บ้านดูน หมู่ที่ 1 มีนายโชคชัย คงสิม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
2. บ้านหนองปลากุ่ม หมู่ที่ ๓ มีนายนิคม ฟักแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓
3. บ้านอีปุ้ง หมู่ที่ ๔ มีนางหนูพูน สายบุปผา เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔
4. บ้านสิม หมู่ที่ ๗ มีนายทองจันทร์ แสงทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗
5. บ้านหนองมะแซว หมู่ที่ ๘ มีนายประมูล พุฒพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘
6. บ้านหนองโนโนนเปื่อย หมู่ที่ ๑๐ มีนางอำนวย พรมวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10
7. บ้านเกาะแก้วสันติธรรม หมู่ที่ ๑๑ มีนายสมบูรณ์ ส่งเสริม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๑
8. บ้านสันติสุข หมู่ที่ ๑๔ มีนายสมชาย กิ่มเกลี้ยง เป็นกำนันประจำตำบลดูน(หมู่ที่ ๑๔)
๒.๒ การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาท้องถิ่นออกเป็น ๘ หน่วยเลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งที่ 1 หมู่ที่ 1 บ้านดูน
หน่วยเลือกตั้งที่ 2 หมู่ที่ ๓ บ้านหนองปลากุ่ม
หน่วยเลือกตั้งที่ 3 หมู่ที่ ๔ บ้านอีปุ้ง
หน่วยเลือกตั้งที่ 4 หมู่ที่ ๗ บ้านสิม
หน่วยเลือกตั้งที่ 5 หมู่ที่ ๘ บ้านหนองมะแซว
หน่วยเลือกตั้งที่ 6 หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองโนโนนเปื่อย
หน่วยเลือกตั้งที่ 7 หมู่ที่ ๑๑ บ้านเกาะแก้วสันติธรรม
หน่วยเลือกตั้งที่ 8 หมู่ที่ ๑๔ บ้านสันติสุข
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง)
หมู่ที่
|
บ้าน
|
2564
|
2565
|
2566
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
ดูน
|
310
|
347
|
657
|
313
|
345
|
658
|
314
|
344
|
658
|
3
|
หนองปลากุ่ม
|
130
|
148
|
278
|
129
|
149
|
278
|
131
|
148
|
279
|
4
|
อีปุ้ง
|
235
|
215
|
450
|
233
|
217
|
450
|
233
|
218
|
451
|
7
|
สิม
|
316
|
281
|
597
|
316
|
283
|
599
|
317
|
288
|
605
|
8
|
หนองมะแซว
|
423
|
409
|
832
|
424
|
418
|
842
|
432
|
418
|
850
|
10
|
หนองโนโนนเปื่อย
|
162
|
139
|
301
|
163
|
136
|
299
|
153
|
133
|
286
|
11
|
เกาะแก้วสันติธรรม
|
68
|
79
|
147
|
73
|
78
|
151
|
77
|
84
|
161
|
14
|
สันติสุข
|
170
|
158
|
328
|
179
|
156
|
335
|
185
|
155
|
340
|
รวม
|
1,814
|
1,776
|
3,590
|
1,838
|
1,797
|
3,612
|
1,842
|
1,788
|
3,630
|
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครัวเรือน (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง)
หมู่ที่
|
บ้าน
|
2564
|
2565
|
2566
|
ครัวเรือน
|
ครัวเรือน
|
ครัวเรือน
|
1
|
ดูน
|
174
|
178
|
182
|
3
|
หนองปลากุ่ม
|
115
|
117
|
118
|
4
|
อีปุ้ง
|
118
|
124
|
126
|
7
|
สิม
|
144
|
149
|
150
|
8
|
หนองมะแซว
|
334
|
353
|
355
|
10
|
หนองโนโนนเปื่อย
|
74
|
77
|
78
|
11
|
เกาะแก้วสันติธรรม
|
106
|
112
|
119
|
14
|
สันติสุข
|
163
|
167
|
168
|
รวม
|
1,228
|
1,277
|
1,296
|
หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
1.เดือนตุลาคม 2564
2.เดือนธันวาคม 2565
3.เดือนกันยายน 2566
3.1.1 จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดูน
หมู่ที่
|
บ้าน
|
จำนวน
หลังคาเรือน
|
จำนวน
ประชากรชาย
|
จำนวน
ประชากรหญิง
|
จำนวนรวม
ประชากรชาย-หญิง
|
1
|
ดูน
|
182
|
314
|
344
|
658
|
3
|
หนองปลากุ่ม
|
118
|
131
|
148
|
279
|
4
|
อีปุ้ง
|
126
|
233
|
218
|
451
|
7
|
สิม
|
150
|
317
|
288
|
6058
|
8
|
หนองมะแซว
|
355
|
432
|
418
|
850
|
10
|
หนองโนโนนเปื่อย
|
79
|
153
|
133
|
286
|
11
|
เกาะแก้วสันติธรรม
|
120
|
77
|
84
|
161
|
14
|
สันติสุข
|
168
|
185
|
155
|
340
|
รวม
|
1,298
|
1,808
|
1,813
|
3,630
|
หมายเหตุ : ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
ณ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕66
มีความหนาแน่นเฉลี่ย มีความหนาแน่นเฉลี่ย 113.08 คน/ตารางกิโลเมตร
(การคำนวณ จำนวนประชากรทั้งหมดหารเนื้อที่อบต.ดูน)
๔. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์
4.๒ สาธารณสุข
- โรงพยาบาลกันทรารมย์ จำนวน ๑ แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
4.๓ อาชญากรรม
รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในองค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีสถานีตำรวจภูธร จำนวน 1 แห่ง คือ สถานีตำรวจภูธรอำเภอกันทรารมย์
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในตำบลดูน พบว่ามีผู้ที่ติดยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น และวันกำลังทำงานที่ใช้ยาเสพติดเป็นตัวกระตุ้นการทำการเกษตร และยังไม่พบผู้ค้ายาเสพติด เนื่องจากว่าได้รับความร่วมมือจากประชาชนในตำบล พร้อมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ที่ช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นอย่างดี การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดและบทลงโทษตามกฎหมาย การจัดแข่งขันกีฬาต่อต้านยาเสพติดเป็นต้นภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และยุทธศาสตร์ด้านสังคมและการสาธารณสุข
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีบทบาทหน้าที่ในด้านการสังคมสังเคราะห์ เช่น
1. การจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ โอนเงินเข้าบัญชี
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
4. รับลงทะเบียนและประสานความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม
(สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
5.1.1 การคมนาคมขนส่งทางบก ประชาชนสามารถใช้บริการในการเดินทาง ระหว่างอำเภอภายในจังหวัด อาทิ เช่น รถบัสประจำทาง รถตู้ประจำทาง
5.1.1 การคมนาคมขนทางราง เส้นทางรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขบวนรถไฟโดยสารขึ้นล่องอุบลราชธานี-กรุงเทพมหานคร
5.2 การไฟฟ้า
- ประชากรทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าสาธารณใช้ร้อยละ 90 และร้อยละ 10 ของแต่ละหมู่ไฟฟ้ายังไปไม่ถึง
- ประชากรร้อยละ 70 ได้มีไฟฟ้าการเกษตรใช้และประชากรร้อยละ 30 ไฟฟ้าการเกษตรยังเข้าไม่ถึง
5.3 การประปา
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีระบบประปาส่วนภูมิภาค จำนวน ๘ หมู่ ประกอบด้วย
-บ้านดูน หมู่ 1 จำนวน 1 แห่ง
- บ้านหนองปลากุ่ม หมู่ ๓ จำนวน 1 แห่ง
- บ้านอีปุ้ง หมู่ 4 จำนวน 1 แห่ง
- บ้านสิม หมู่ ๗ จำนวน 1 แห่ง
- บ้านหนองมะแซว หมู่ ๘ จำนวน 1 แห่ง
- บ้านหนองโนโนนเปื่อยหมู่ ๑๐ จำนวน 1 แห่ง
- บ้านเกาะแก้วสันติธรรมหมู่ 1๑ จำนวน 1 แห่ง
- บ้านสันติสุข หมู่ ๑๔ จำนวน 1 แห่ง
5.4 โทรศัพท์
-ในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้านไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ ส่วนใหญ่ประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือโดยในพื้นที่มีเสาสัญญาโทรศัพท์ จำนวน ๑ แห่ง
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอกันทรารมย์ จำนวน ๑ แห่ง
- Kerry Express เคอร์รี่ เอ็กเพรส จำนวน ๑ แห่ง
๖. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
1.แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
๒. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิต รวมกันจำหน่ายและรวมกันบริหารจัดการ
๓. แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพยกระดับการผลิตสินค้าและขีดความสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
6.2 การประมง
๑. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านการอนุรักษ์และการเพิ่มผลผลิตสัตว์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
๒. เสริมสร้างศักยภาพการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
6.3 การปศุสัตว์ จะเป็นลักษณะในเชิงค้าขาย และการอุปโภค บริโภค
๑. ส่งเสริมการผลิต สินค้าการเกษตรที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน
๒. ยกระดับกระบวนการผลิต แปรรูป และการตลาดสินค้าอาหารปลอดภัย
6.4 การบริการ
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีการบริการต่างๆในพื้นที่ดังนี้
ลำดับที่
|
สถานประกอบการ
|
หมู่ที่
|
จำนวน
(แห่ง)
|
๑
|
โรงสีข้าว
|
1,3,4,7,8,10,11,14
|
25
|
2
|
ร้านค้า
|
1,3,4,7,8,10,11
|
57
|
๓
|
ร้านซ่อมรถ
|
1,3,4,7,11,14
|
14
|
4
|
บ้านเช่า
|
3,8
|
5
|
๕
|
โรงแรม
|
3,8,11,14
|
5
|
6
|
สนามไก่ชน
|
3
|
1
|
7
|
เสา AIS
|
4
|
1
|
8
|
ห้องเสื้อ
|
7,10
|
2
|
9
|
ร้านหมูกระทะ
|
8
|
3
|
๑0
|
อาคารวัสดุ
|
8,11,14
|
3
|
๑1
|
โรงเก็บเกลือ
|
10
|
1
|
๑2
|
ร้านปั้มน้ำมันหลอด
|
8,10,14
|
4
|
๑3
|
ร้านหล่อท่อปูน
|
10,14
|
2
|
๑4
|
ร้านรับซื้อไม้
|
11
|
1
|
๑5
|
คลังสินค้า
|
8,11
|
3
|
๑6
|
ร้านรับซื้อของเก่า
|
11
|
1
|
๑7
|
ร้าน ssk สแตนเลส
|
14
|
1
|
6.5 การท่องเที่ยว
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือหาดนางเหงา อยู่บริเวณถนนกันทรารมย์-ยางชุมน้อย ห่างจากอำเภอกันทรารมย์ประมาณ ๕ กิโลเมตร
6.6 อุตสาหกรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลดูน เป็นตำบลที่อยู่นอกเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในพื้นที่ตำบลดูน ไม่มีการทำอุตสาหกรรม
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การรวมกลุ่มของประชาชน
ลำดับที่
|
กลุ่ม
|
หมู่ที่
|
จำนวน
(กลุ่ม)
|
1
|
กลุ่มกองทุนเงินล้าน
|
๑,๓,๔,๗,๘,๑๐,๑๑,๑๔
|
๘
|
2
|
กลุ่ม SML
|
๑,๓,๔,๗,๘,๑๐,๑๑,๑๔
|
๘
|
3
|
กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย
|
๑,๘
|
๒
|
4
|
กลุ่มข้าวแปรรูป
|
๓
|
๑
|
5
|
กลุ่มแม่ค้าหาดนางเหงา
|
๔
|
๑
|
6
|
กลุ่มกั๊บแก้บ
|
๗
|
|